สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปราณี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ทุกวัน ทุกคืน ชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ปี ๒๕๕๖ หลายคนคงได้ยินตามสถานที่ต่างๆ
แดเพลงเกี่ยวกับปีใหม่ วันนี้เลยจะมาเล่าถึงประวัติของเพลงปีใหม่ให้ได้ทราบกัน
เพลงที่จะพูดถึงวันนี้คือเพลงพรปีใหม่หลายคนคงอยากทราบกันแล้วว่าเพลงนี้มีที่มาอย่างไร
เพลงพรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๓
ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่
แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่"
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอวยพรปีใหม่
แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่
วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88
ในวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย
ในช่วงนี้จะมีการจัดงานรื่นเริงเรามักจะได้ยินเสียงเพลงปีใหม่อยู่ทั่วไป
ซึ่งประวัติของเพลงปีใหม่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนโดยเพลงปีใหม่เกิดขึ้นครั้งแรก
ประมาณปี พ.ศ. 2477 - 2479 คือ เพลงเถลิงศก
ของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง ทำนอง
รวมทั้งขับร้องและบรรเลงตามอย่างสากล
ถูกแต่งขึ้นในช่วงที่รัฐบาลสมัยนั้นได้มีการให้จัดงานรื่นเริงปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน มีตัวอย่างเนื้อร้อง ดังนี้ .......ยิ้มเถิด
ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสราญบานใจ ขอให้สวัสดี
พอมาถึงในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ได้สั่งการดำเนินการหลายอย่าง เพื่อสร้างชาติ
และสร้างวัฒนธรรมเมืองแบบใหม่ เช่น เปลี่ยนชื่อ ประเทศสยาม มาเป็นประเทศไทย
การเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นต้น เพื่อสร้างวัฒนธรรม
และแนวทางปฏิบัติของประชาชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งในภารกิจทั้งหลายที่รัฐบาลสมัยนั้นทำ
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม
เพื่อจะได้เหมือนกับประเทศอื่นๆ และสิ่งที่สำคัญที่ใช้ในการเผยแพร่นโยบายของรัฐบาล
คือ เสียงเพลง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม เพลงเถลิงศก ก็ไม่ได้รับความนิยม เพราะมีเนื้อร้องไม่ทันสมัย ไม่เข้ากับเหตุการณ์ ดังเนื้อเพลงที่ว่า ......วันที่หนึ่งเมษายน ตั้งต้นปีใหม่ และแสงตะวันพร่างพรายใสสว่างแจ่มจ้า...... หน่วยงานของรัฐมีอยู่สองหน่วยงาน คือ กรมศิลปากร และกรมโฆษณาการ จึงช่วยกันผลิตงานเพลงสนับสนุนนโยบายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์ที่โด่งดังควบคู่กับชื่อวงสุนทราภรณ์
วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ หรือวงสุนทราภรณ์ เป็นเจ้าตำรับเพลงปีใหม่ของไทย เพลงที่แต่งขึ้นในแต่ละปีได้ถูกนำมารวมเป็นแผ่นเสียงลองเพลย์ได้ครบหนึ่งแผ่น (ประมาณ 12 เพลง) และทุกเพลงได้รับความนิยมจากประชาชนมาก โดยเฉพาะเพลงสวัสดีปีใหม่ ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยจนถึงทุกวันนี้
แหล่งที่มาของข้อมูล คอลัมน์วาไรตี้ ของ นสพ.
เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ที่
30 ธันวาคม พ.ศ. 2545 หน้า 5
ที่มา:http://www.gotoknow.org/posts/232272
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น